หากพูดถึงรถบิ๊กไบค์หรือ อุปกรณ์แต่งรถอะไรก็ตาม “หมวกกันน็อค”เองก็สำคัญไม่แพ้กันถึงจะไม่ได้เป็นอุปกรณ์ที่เอาไว้ใช้ในการแต่งรถก็ตาม แต่ก็ถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากที่สุดเป็นอันต้นๆ เรียกได้ว่า หมวกกันน็อค ถือเป็นไอเทมชิ้นแรกๆที่ควรจะมีเลยทีเดียวเพราะนอกจากจะทำให้มีลุคที่ดุดันมากขึ้นแล้วยังเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยเซฟชีวิตป้องกันการกระแทกส่วนที่สำคัญของศรีษะ ไปในตัวด้วย ดังนั้นแล้วนอกจากการ “การแต่งรถ” “การแต่งคน”ก็เป็นความสำคัญที่ไม่ควรจะละเลยไปเช่นกัน แต่รู้หรือไม่ว่า หมวกกันน็อตเองก็มี การแบ่ง ระหว่าง หมวกกันน็อคสำหรับสำหรับ รถยนต์ และ มอเตอร์ไซค์ เช่นกัน

ความต่างของหมวกกันน็อคสำหรับรถยนต์และมอเตอร์ไซค์
หมวกกันน็อคนับเป็นอุปกรณ์นิรภัยขั้นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดสำหรับกิจกรรมมอเตอร์สปอร์ต ซึ่งจุดประสงค์หลักของหมวกกันน็อคนั้นถูกสร้างขึ้นเพื่อป้องกันการกระทบของบริเวณศรีษะ ที่เป็นจุดหลักลำดับต้นๆของระบบร่างกายของมนุษย์ แม้วัตถุประสงค์นั้นจะเหมือนกันแต่ว่าหมวกกันน็อคสำหรับรถยนต์และก็รถจักรยานยนต์นั้นก็มีความแตกต่างกันอยู่พอสมควร
ซึ่งในบทความนี้เราจะพูดถึง ความแตกต่างของหมวกกันน็อคและเทคนิคการเลือกหมวกกันน็อค ที่ดีให้เข้ากับ ไลฟ์สไตล์ ของผู้ขับอีกด้วย เนื่องจาก หมวกกันน็อคแต่ละแบบนั้น จุดประสงค์หลักคือช่วยปกป้องศรีษะของเรา แต่ เราก็ควรเลือกใช้ให้ตรงกับโจทย์การใช้งานด้วยเช่นกัน หากมองข้ามไปอาจจะกลายเป็นโทษกับผู้ขับขี่เสียเองเราจึงควรศึกษาเกี่ยวกับหมวกซักนิด

เพราะอุบัติเหตุในสนามแข่งจึงทำให้เกิด หมวกกันน็อคขึ้น
จุดเริ่มของหมวกกันน็อคนั้น ชัดเจนว่ามันเกิดจากการแข่งขัน โดยเป็นอุปกรณ์เพื่อปกป้องความเสียหายจากอุบัติเหตุในสนามแข่งขันจนกระทั่งมันถูกปรับปรุงให้เอาไปใช้เพื่อลดความสูญเสียของการคมนาคมสำหรับรถเครื่องที่นับวันจะยิ่งทวีความร้ายแรงเพิ่มมากขึ้น หลังจากตัวรถที่ถูกปรับปรุงไปอย่างต่อเนื่อง ส่วนหมวกกันน็อคในรถยนต์นั้นจะมีมาตรฐานที่แตกต่างไปจากหมวกกันน็อคสำหรับจักรยานยนต์ โดยส่วนมากจะมีมาตรฐาน SA หรือ Snell เป็นตัวบ่งชี้ความปลอดภัย
โดยมาตรฐาน SA หรือ Snell นั้นถูกกำหนดให้ใช้เป็นครั้งแรกในปี 1957 โดยการก่อตั้งของกลุ่มคนที่ไม่แสวงหากำไร เพื่อเป็นเกียรติให้กับ William “Pete” Snell อดีตนักแข่งรถมีชื่อเสียงที่เสียชีวิตจากการประลองรถยนต์ทางเรียบ เนื่องจากหัวกระแทกจากการหลุดออกไปของหมวกกันน็อคภายหลังจากการชน เมื่อปี 1956 จนกระทั่งมาถึงปัจจุบัน มาตรฐานของหมวกกันน็อกนั้นก็ถูกปรับปรุงให้มีค่าการทำงานที่มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้นตามกาลเวลา และทำให้เกิดมาตรฐานรับรองความปลอดภัยมากมายทั้ง DOT และ UN ECE ซึ่งก็จะมีความแตกต่างในเรื่องของความเข้มงวดในการทดสอบแยกย่อยไปอีก

ความต่างของหมวกกันน็อคสำหรับรถยนต์และรถมอเตอร์ไซค์
ความแตกต่างของหมวกกันน็อคของรถยนต์และรถมอเตอร์ไซค์ นั้นจะมีการทดสอบโดยรวมที่คล้ายๆกันในหลายๆด้านแต่จุดประสงค์ของการทดสอบ คือ ให้มีประสิธิภาพในการปกป้องศรีษะจากอุบัติเหตุให้ได้มากที่สุด เช่น
- 1.การทนต่อไฟ
หมวกกันน็อคสำหรับรถยนต์นั้นจะมีมาตรฐานกันไฟที่สูงกว่าหมวกกันน็อคสำหรับจักรยานยนต์ ส่วนหนึ่งนั้นมาจากการขับรถยนต์นั้น เรามักจะมองเห็นผู้ขี่ติดอยู่ในห้องนักขับหลังจากเกิดอุบัติเหตุ รวมทั้งอาจจะเกิดไฟไหม้จากอุบัติเหตุนั้นๆพวกเส้นใยด้านในที่ห่อหุ้มระหว่างเปลือกนอกและหัวของผู้สวมนั้นจะถูกสร้างด้วยเส้นใยที่ทนความร้อนหรือไม่ติดไฟ ในส่วนของยางเดินขอบบริเวณรอบๆชิลด์หน้านั้นจะเป็นยางที่สามารถละลายได้เมื่อโดนความร้อนในระดับค่อนข้างสูง โดยจะเป็นส่วนที่จะสามารถช่วยปิดและยึดเกาะชิลด์หน้าไม่ให้เปิดออก เพื่อป้องกันเปลวไฟที่บางครั้งอาจจะนำไปสู่ช่องว่างขณะเกิดอุบัติเหตุได้
- 2.การรับแรงกระแทกที่ไม่เหมือนกัน
การรับแรงกระแทกนั้นก็แตกต่างกัน หมวกกันน็อคสำหรับรถยนต์นั้นต้องมีค่าการรับแรงที่สูงกว่า หมวกกันน็อคสำหรับจักรยานยนต์ เนื่องจากในส่วนของห้องขับนั้นจะเต็มไปด้วยอุปกรณ์ที่มีความแข็ง ไม่ว่าจะเป็นส่วนประกอบ พวงมาลัย คานเหล็กดามรถ กระจก หน้าต่าง หรือแม้กระทั้งหลังคา ไม่เหมือนกันการขับขี่รถจักรยานยนต์ที่จะเน้นย้ำไปที่การลดแรงเสียดทานจากการไถลหรือลื่นที่สูงกว่า
- 3.ส่วนป้องกันเสริมที่แตกต่างกัน
ตามาตรฐาน SA2015 หมวกกันน็อคสำหรับรถยนต์นั้นควรต้องสามารถติดตั้งอุปกรณ์ HANS (Head and Neck Safety) หรืออุปกรณ์ป้องกันคอและศรีษะ เพื่อลดโอกาสในการบาดเจ็บที่ศีรษะและคอ การแตกหักของกะโหลกและกระดูกส่วนคอที่เชื่อมต่อไปยังกระดูกสันหลัง ที่เป็นจุดที่มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตในทันทีถ้าหากว่าไม่มีการป้องกัน ส่วนหมวกกันน็อคสำหรับจักรยานยนต์นั้นส่วนนี้จะอยู่ในส่วนของเสื้อและชุดสำหรับใช้ในการขับขี่แทน
- 4.รูปร่าง / การถ่ายเทอากาศ / อากาศพลศาสตร์ / เสียงดังรบกวน / น้ำหนัก
อย่างที่เราเห็นว่าในภาพหมวกกันน็อคสำหรับรถยนต์นั้นจะไม่มีส่วนของการออกแบบเพื่ออากาศพลศาสตร์ ตัวเปลือกนอกจะเรียบเนียนกลมไปตามรูปสรีระของศรีษะ เนื่องจากมันถูกใช้งานภายในห้องขับที่ไม่มีส่วนกระทบกับอากาศภายนอก โดยเหตุนี้เรื่องเสียงรบกวนของมันก็เลยมีน้อยกว่าหมวกกันน็อคสำหรับรถจักรยานยนต์ เช่นเดียวกับน้ำหนักที่หมวกกันน็อคสำหรับรถยนต์นั้นมักจะหนักกว่ารถจักรยานยนต์ เนื่องจากไม่มีปัจจัยหลักที่จะต้องต้านกับอากาศด้านนอกเหมือนการขับขี่รถจักรยานยนต์


ผลสรุป
มันอาจจะดูเหมือนกับว่าเหมือนกันแต่ว่าก็มีความแตกต่างอยู่ไม่น้อย แต่จะว่าไปแล้วในหมวกกันน็อคสำหรับรถจักรยานยนต์ บิ๊กไบค์ นั้นบางรุ่นก็ผ่านมาตรฐานในการใช้งานสำหรับแข่งรถยนต์ได้ แต่ว่าในทางตรงกันข้ามหมวกกันน็อคสำหรับรถยนต์นั้นแทบจะไม่ถูกนำมาใช้ในกิจกรรมสำหรับรถมอเตอร์ไซค์สักเท่าไหร่ เนื่องจากว่าด้วยราคาที่สูงกว่าและก็ประสิทธิภาพที่อาจจะดูไม่ค่อยจะเหมาะสม มันก็เหมือนกับน้ำมันเครื่องสำหรับรถยนต์และรถมอเตอร์ไซค์ที่ทำหน้าที่คล้ายกัน แต่ก็ไม่เหมือนกันไปซะทีเดียว
บทความโดย : SBK_Superbikeskit